ประวัติ รฟท.

ประวัติการรถไฟแห่งประเทศไทย

          คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2560 เห็นชอบแนวทางการเผยแพร่กฎหมายเพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานภาครัฐ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ โดยรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ประธานกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติเสนอ โดยให้หน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้เสนอให้มีหรือปรับปรุงกฎหมายจัดส่งแบบตรวจสอบการเผยแพร่กฎหมายเพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานภาครัฐ ให้สำนักงานกิจการยุติธรรมเมื่อกฎหมายนั้นๆ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว โดยมีขั้นตอนตามแนวทางการเผยแพร่กฎหมายเพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานภาครัฐ ดังนี้

 

ขั้นที่ 1 ก่อนออกกฎหมาย

       

        หน่วยงานของรัฐที่จะเสนอให้มีการตรากฎหมายขึ้นใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันเพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาจะต้องจัดทำเป็นร่างกฎหมาย และดำเนินการตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมายประกอบร่างกฎหมายทุกครั้ง ปรากฏตามคู่มือการตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมาย และระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 ที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำคำชี้แจงตามหลักเกณฑ์ การตรวจสอบความจำเป็นในการตราพระราชบัญญัติ (Checklist 10 ประการ) ซึ่งประกอบด้วยหลักเกณฑ์รวม 10 ประการ ได้แก่ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย ของภารกิจ ใครควรเป็นผู้ทำภารกิจ ความจำเป็นในการตรากฎหมาย ความซ้ำซ้อนของกฎหมาย ภาระ ต่อบุคคลและความคุ้มค่า ความพร้อมของรัฐ หน่วยงานที่รับผิดชอบ วิธีการทำงานและการตรวจสอบ อำนาจในการตราอนุบัญญัติ และการรับฟังความคิดเห็น โดยให้จัดทำเป็นเอกสารประกอบร่างกฎหมายที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาอนุมัติในหลักการของร่างกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในขั้นตอนของการเสนอร่างกฎหมายหน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้เสนอให้มีการตรากฎหมายหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย นอกจากจะต้องดำเนินการตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมาย (Checklist 10 ประการ) แล้วนั้น ยังต้องดำเนินการจัดทำแบบตรวจสอบ แนวทางการเผยแพร่กฎหมายเพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานภาครัฐ (Law Acknowledgement Monitoring Platform I : LAMP 1) ควบคู่กันไปด้วยในการเสนอร่างกฎหมาย โดยบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของการเสนอหรือปรับปรุงร่างกฎหมายก่อนเสนอต่อคณะรัฐมนตรี

        

ขั้นที่ 2 กฎหมายมีผลบังคับใช้

       

        เมื่อกฎหมายที่ได้เสนอไปนั้น มีผลใช้บังคับและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้เสนอให้มีหรือปรับปรุงกฎหมาย จัดส่งแบบตรวจสอบแนวทางการเผยแพร่กฎหมายเพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานภาครัฐ (Law Acknowledgement Monitoring Platform I : LAMP 1) ให้สำนักงานกิจการยุติธรรม ในฐานะศูนย์ข้อมูลการเผยแพร่ด้านกฎหมาย ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่กฎหมายนั้นๆ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อแจ้งให้ทราบถึงแนวทางการดำเนินการหรือแผนปฏิบัติการในการเผยแพร่กฎหมายของหน่วยงาน ทั้งนี้ นอกจากการจัดส่งแบบตรวจสอบแนวทางการเผยแพร่กฎหมายดังกล่าวแล้วให้หน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้เสนอให้มีหรือปรับปรุงกฎหมายดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติ การเพื่อเผยแพร่กฎหมายและดำเนินการตามแผนปฏิบัติการนั้น ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่กฎหมายนั้นๆ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาอีกด้วย

 

ขั้นที่ 3 การตรวจสอบและการประเมินผล

       

        หน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้เสนอให้มีหรือปรับปรุงกฎหมาย ต้องรวบรวมและสรุปผล การดำเนินการเผยแพร่กฎหมายตามแผนปฏิบัติการที่วางไว้ และรายงานผลการดำเนินการในภาพรวม ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น รวมทั้งจัดส่งตัวอย่างผลผลิตในรูปแบบ Digital File หรือ URL ของผลผลิต เช่น โปสเตอร์ วีดิทัศน์ คู่มือการปฏิบัติงาน เป็นต้น ตามแบบรายงานการเผยแพร่กฎหมายเพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานภาครัฐ (Law Acknowledgement Monitoring Platform II : LAMP 2) จัดส่งให้สำนักงานกิจการยุติธรรม ในฐานะศูนย์ข้อมูลการเผยแพร่ด้านกฎหมาย ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่กฎหมายนั้นๆ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินการตามแนวทางการเผยแพร่กฎหมาย เพื่อสร้างการรับรู้ของแต่ละหน่วยงาน และนำผลผลิตที่ได้จากการเผยแพร่กฎหมายของแต่ละหน่วยงาน มารวบรวม จัดหมวดหมู่ ประมวลผล และเผยแพร่ให้กับประชาชนผ่านศูนย์ข้อมูลการเผยแพร่ด้านกฎหมาย ซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลกลางในการเผยแพร่กฎหมายของประเทศต่อไป
       
         ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเรื่อง แนวทางการเผยแพร่กฎหมาย เพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานภาครัฐ ตรงตามเจตนารมณ์ ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม จึงได้ดำเนินการพัฒนาเว็บไซต์ “รู้กฎหมาย” ขึ้น เพื่อรองรับการดำเนินงานในฐานะศูนย์ข้อมูลการเผยแพร่ด้านกฎหมาย และประการที่สำคัญ เพื่อให้มีเว็บไซต์ฐานข้อมูลกลางที่มุ่งเน้นการสร้างการรับรู้ในการเผยแพร่กฎหมายจากหน่วยงานภาครัฐไปยังประชาชน เสมือนหนึ่งว่าเป็นแสงสว่างสร้างการรับรู้กฎหมายให้แก่ประชาชน
 

1) มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 17 มกราคม 2560

        
        มติคณะรัฐมนตรี.pdf

 

2) คู่มือแนวทางการเผยแพร่กฎหมายเพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานภาครัฐ

        
        คู่มือแนวทางการเผยแพร่.pdf

 

3) แบบฟอร์มการเผยแพร่กฎหมายเพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานภาครัฐ

       
        แบบตรวจสอบการเผยแพร่กฎหมายเพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานภาครัฐLaw Acknowledgement Monit
        แบบรายงานตรวจสอบการเผยแพร่กฎหมายเพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานภาครัฐ(Law Acknowledgement Monitoring Platform II LAMP 2)

 

4) แผนปฏิบัติการเผยแพร่กฎหมายเพื่อสร้างการรับรู้ให้แก้ประชาชนและหน่วยงานภาครัฐ

        
        แผนปฏิบัติการที่ ๑ การเผยแพร่กฎหมายใหม่และที่แก้ไขเพิ่มเติม และกฎหมายที่ประชาชนควรรู้
        แผนปฏิบัติการที่ ๒ การเผยแพร่กฎหมายที่เด็กและเยาวชนควรรู้.pdf
        แผนปฏิบัติการที่ ๓ การเผยแพร่กฎหมายที่สื่อมวลชนควรรู้.pdf